abbort
   จากการสำรวจสถิติย้อนหลังไปในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา (พ.ศ. 2542 - 2552) พบว่เยาวชน ไทยมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรกในขณะที่มีอายุน้อยลงไปเรื่อยๆ และสถิติอายุของมารดาที่ตั้งครรภ์ในวัยเรียนก็สูงขึ้นเรื่อยๆ ตามลำดับ โดยเฉพาะในสังคมชนบทนั้น พบปัญหา "เด็กชายพ่อ...เด็กหญิงแม่" สูงมาก สูงหว่าในสังคมกรุงเทพฯ เสียอีก นั่นคือ เด็กชาย เด็กหญิงในระดับชั้นประถมและมัธยมที่ยังไม่มีคำนำหน้าว่า "นาย" หรือ "นางสาว" ด้วยซ้ำ แต่ดันไปมีเพศสัมพันธ์กันเสียแล้ว บางคู่เด็กหญิงก็เกิดตั้งครรภ์ขึ้นมา ซึ่งพ่อแม่ ผู้ปกครองก็จะแก้ปัญหาโดยการจัดงานผูกข้อไม้ข้อมือยอมรับให้อยู่กินด้วยกันเสียเลย โดยที่ฝ่ายเด็กหญิงก็มักจะต้องเป็นฝ่ายหยุดเรียนเพื่อมาทำหน้าที่ "แม่"
ส่วนเด็กชายก็ดำเนินชีวิตต่อไปทั้งที่ยังไม่มีความพร้อมใดๆ ต่อการทำหน้าที่ "พ่อ" และทั้งคู่อาจยังคงก่อปัญหาทำนองนี้ต่อไปอีกในอนาคต เพราะการแก้ปัญหาเช่นนี้เป็นเพียงการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุอย่างเฉพาะหน้าเท่านั้น ยังมิใช่การป้องกันและแก้ไขปัญหาในระยะยาวแบบยั่งยืน
จากประสบการณ์หนึ่งของผู้เขียน...เด็กสาวหน้าตาน่าเอ็นดู เด็กหนุ่มหน้าตาดีนั่งอยู่ตรงหน้า ทั้งคู่อยู่ในวัยศึกษาเป็น "เด็กเรียน" ขยันหมั่นเพียร มีความประพฤติดี อนาคตอันสดใสกำลังรอพวกเขาอยู่...ไม่ไกลนี้ แต่...อนิจจา! เขาและเธอถูกส่งตัวมาพบผู้เขียนเนื่องจากเป็น "ผู้ติดเชื้อเอดส์ทางเพศสัมพันธ์" เด็กหนุ่มติดเชื้อเอดส์จากการที่ไป "ขึ้นครู" เมื่อ 2 ปีก่อน ส่วนเด็กสาวกำลังตั้งครรภ์และติดเชื้อเอดส์จากการมีเพศสัมพันธ์กับ "ชายคนรัก" เพียงครั้งเดียว...ก็เด็กหนุ่มคนนี้นี่แหละ!  เธอ...ไม่ใช่เด็กสาวใจแตก!
และเขา...ไม่ใช่หนุ่มนักเที่ยว! แต่อะไรทำให้เขาและเธอเผลอไผลไปได้ถึงเพียวนั้น...อารมณ์รักหรืออารมณ์ใคร่?
เขาและเธอไม่รู้หรือว่าการใกล้ชิดสนิทสนม จังหวะ เวลา สถานการณ์และบรรยากาศจะนำไปสู่การเกิดเพศสัมพันธ์ได้?
เขาและเธอพร้อมแล้วหรือสำหรับการมีเพศสัมพันธ์?
รู้วิธีการป้องกันโรคเอดส์ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์หรือไม่?
ง่ายแสนง่ายเพียงแค่ใช้ถุงยางอนามัย แล้วทำไม?...ทำไม?
วัยรุ่นและวัยหนุ่มสาวนั้นจัดเป็นเยาวชนที่มักมีพฤติกรรมอยากรู้อยากเห็น อยากทดลองโดยเฉพาะที่เกี่ยวกับเรื่องเพศ เนื่องมาจากความต้องการทางเพศ ซึ่งเป็นแรงผลักดันตามธรรมชาติของมนุษย์จะเริ่มปรากฏเด่นชัดในวัยนี้ เมื่อกระทบกับสิ่งเย้ายวนทั้งจากสื่อต่างๆ การเห็นตัวแบบในสังคม รวมถึงการมีโอกาสอยู่ตามลำพังสองต่อสอง ได้ใกล้ชิดสนิทสนม ถูกเนื้อต้องตัวกันก็จะทำให้ความรู้สึกหรือความต้องการทางเพศเกิดขึ้นได้อย่างง่ายและรวดเร็ว  ยิ่งถ้าหากเยาวชนขาดความรู้ความเข้าใจในธรรมชาติของตนและขาดแหล่งข้อมูลหรือแหล่งที่จะขอคำแนะนำปรึกษาได้ เมื่อต้องการความช่วยเหลือ เนื่องจากบิดา มารดา ผู้ปกครองหรือแม้แต่ครู อาจารย์บางท่านก็ยังคงมีความติดว่าเรื่องเพศนั้นเป็นเรื่องน่าละอาย ไม่ควรจะนำมาสอน พูดคุยหรือทำความเข้าใจกับเยาวชนให้เกิดความอยากทดลองหาประสบการณ์ทางเพศบางท่านถึงกับปิดกั้น คอยแต่ดุด่าว่ากล่าว ไม่ให้ความไกล้ชิด ไม่ให้ความเป็นกันเอง คอยแต่ห้ามปรามมิให้เยาวชนในปกครองคบเพื่อนต่างเพศ หรือแม้แต่คิดที่จะมีความรักในวัยเรียนโดยเด็ดขาด  เยาวชนจึงหาทางออกเพื่อตอบสนองความต้องการตามธรรมชาติของตนจากการพูดคุยปรึกษากับ "เพื่อน" รุ่นราวคราวเดียวกัน ซึ่งถือว่าเป็นบุคคลที่เขาไว้ว่างใจที่สุด แต่มักจะได้รับข้อมูลที่ผิดพลาดคลาดเคลื่อนไปจากความเป็นจริง เพราะความอ่อนเดียงสาและด้อยประสบการณ์พอๆ กัน หรือซื้อหาสินค้าทางเพศมาเพิ่มประสบการณ์ให้กับตนเอง ไม่ว่าจะเป็นหนังสือโป๊ วีซีดี ดีวีดี คลิปวิดีโอ หรือภาพยนตร์ประเภทต้องห้าม รวมถึงการซื้อหาบริการทางเพศ ซึ่งสินค้า "เพศพาณิชย์" เหล่านี้ต่างมีจุดมุ่งหมายที่จะหลุกกำหนัดของผู้ซื้อเพื่อขายสินค้าให้ได้มากที่สุด จึงให้ภาพที่เกินจริง มุ่งปลุกเร้าความรู้สึกทางเพศจนเป็นการให้ข้อมูลที่ผิด เยาวชนจึงมิได้รับรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องในเรื่องเพศ เรื่องบทบาททางเพศรวมทั้งการควบคุมและการระบายอารมณ์ทางเพศที่ถูกต้องเหมาะสม

เยาวชนมิได้รับการสอนเพศศึกษามาแล้วหรือ?
น่นอน...เรามีการสอนเพศศึกษาบรรจุอยู่ในหลักสูตรวิชาสุขศึกษาตั้งแต่ระดับชั้นมัธยมศึกษาแล้ว จึงเกิดคำถามต่อไปอีกว่า...เพศศึกษาตามหลักสูตรที่ใช้กันอยู่นี้ได้ตอบสนองปัญหาและความต้องการของเยาวชนหรือไม่? เพราะมีเนื้อหาที่เน้นเกี่ยวกับกายวิภาคและสรีรวิทยาของอวัยวะเพศชายและอวัยวะเพศหญิง สุขวิทยา สุขปฏิบัติ การปฏิสนธิ การวางแผนครอบครัว การปฏิบัติตนต่อเพศตรงข้ามและการป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ รวมทั้งโรคเอดส์ซึ่งล้วนแต่เป็นเนื้อหาทางด้านชีวภาพเท่านั้น ยังไม่ไปถึงการเพศศึกษาในเชิงสังคมจิตวิทยาและเชิงพฤติกรรมศาสตร์เลย
ดังนั้นจึงควรมีการปรับปรุงแนวคิดเกี่ยวกับการเรียนการสอนวิชาเพศศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาโดยจัดกระบวนการเรียนการสอนที่มุ่งเน้นพฤติกรรมการเรียนรู้ครอบทั้ง 3 ด้าน ได้แก่
1. ด้านความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับเรื่องเพศ เช่น กายวิภาคและสรีรวิทยาของอวัยวะเพศชายและอวัยวะเพศหญิง สุขวิทยา การปฏิสนธิ การวางแผนครอบครัว บทบาททางเพศ ความรัก ความใคร อารมณ์และการตอบสนองทางเพศ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ทั้งวิธีการติดต่อ การป้องกันและการแก้ไขปัญหาทางเพศ
2. ด้านค่านิยมและเจตคติที่ดีงามต่อเรื่องเพศ ความรัก ยอมรับว่าความสัมพันธ์ระหว่างเพศเป็ฯเรื่องธรรมชาติที่ทุกคนควรรู้ เรื่องมารยาททางเพศ ศีลธรรม จริยธรรมทางเพศ การคิดและการตัดสินใจที่สอดคล้องกับขนมธรรมเนียมและวัฒนธรรมของสังคมไทยอย่างเหมาะสม
3. ด้านการประพฤติปฏิบัติที่ถูกต้องเหมาะสมในเรื่องเพศ เพื่อบุคลิกภาคและลักษณะนิสัยที่พึงประสงค์ มีการคิดตัดสินใจที่ถูกต้องโดยสำนึกในหน้าที่และความรับผิดชอบต่อการกระทำของตนเองที่มีต่อครอบครัวและสังคมภายใต้ขอบเขตแห่งคุณธรรม
    การสอนเรื่องเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ทุกชนิดจะต้องเน้นให้เกิดการรับรู้ถึงความรุนแรงของโรค การรับรู้ความรุนแรงของการมีเพศสัมพันธ์ต่อการติดเชื้อโรค การรับรู้โอกาสเสี่ยงของตนต่อการมีเพศสัมพันธ์และการติดเชื้อโรคทางเพศสัมพันธ์ เนื้อหาจะต้องลงลึกถึงวิธีการ เหตุผลและกิจกรรมทางเพศที่ทำให้โรคติดต่อกันได้ทางเพศสัมพันธ์ เพื่อให้เยาวชนเกิดความรู้ความเข้าใจและติดสินใจเลือกวิธีการปฏิบัติที่ถูกต้อง
โดยเฉพาะต้องกระตุ้นให้เกิดการรับรู้ความหมายของ "ความรัก" และ "การแสดงความรัก" ที่แตกต่างกันของชายและหญิง การเกิดอารมณ์เพศและการตอบสนองทางเพศ การรู้จักควบคุมและระบายอารมณ์เพศที่ถูกต้องเหมาะสมเพื่อป้องกันการมีเพศสัมพันธ์ที่ขาดการเตรียมตัวและขาดการป้องกันล่วงหน้า (Unprepared and Unprotected Sex) อันจะนำมาสู่การตั้งครรภ์และติดเชื้อเอดส์  รวมถึงการสนับสนุนการมีเพศสัมพันธ์ที่ปลอดภัย (Safe Sex and Protected Sex) นั่นคือ...การไม่มีเพศสัมพันธ์กับใครเลยจนกว่าจะมีความพร้อมทั้งด้านจิตใจ อารมณ์ สังคม การศึกษาและเศรษฐกิจที่จะรับผิดชอบผลที่ตามมา หรือเกิดจะมีเพศสัมพันธ์ก็ต้องมีการป้องกันที่ดี ทั้งป้องกันการตั้งตรรภ์และการติดเชื้อโรคทั้งหลาย และที่สำคัญที่สุดคือการสร้างทักษะการคิดพิจารณาอย่างรอบคอบทุกครั้ง ก่อนตัดสินใจที่จะมีเพศสัมพันธ์ (Thinking Before Having Sex)
ถึงแม้ว่าการนำเนื้อหาเหล่านี้มาเขียนในหลักสูตรจะเป็นเรื่องยากที่จะได้รับการยอมรับ เนื่องจากผู้บริหารและผู้ปกครองบางท่านยังคงเห็นว่าเพศศึกษาเป็น "ดาบสองคม" ที่อาจจุเป็นการชี้โพรงให้กระรอก แต่มิใช่เรื่องเป็นไปไม่ได้ที่จะพยายาม และข้อสำคัญการสอนเรื่องเหล่านี้ไม่จำเป็นต้องถูกจำกัดไว้เพียงหลักสูตรในสถานศึกษาเท่านั้น เป็นการดีอย่างยิ่งที่เริ่มตั้งแต่ที่บ้านโดยพ่อแม่และผู้ปกครองเป็นผู้ให้ความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องแก่เยาวชน เพื่อป้องกันปัญหาอันใหญ่หลวงที่ทำลังทวีความรุนแรงขึ้นทุกขณะและเป็นการยากกว่าหลายเท่านักที่จะเอาชนะความอยากรู้ อยากเห็น อยากทดลอง อันเป็นลักษณะประจำของวัยรุ่น
เมื่อ "กระรอก" อยากรู้ เราก็ควรบอกให้กระรอกได้รู้อย่างถูกต้องว่า "ในโพรงนั้น" มันมีอะไร? จะร้อน...จะเย็น...แค่ไหน? อันตรายหรือไม่? อย่างไร? สมควรหรือไม่ที่ตัดสินใจเข้าไป? ถ้าจะเข้าไปควรเข้าในเวลาใดและควรจะปฏิบัติตนอย่างไรจึงจะเหมาะสม?
แล้วอย่างนี้สมควรแล้วหรือยังที่เราทุกคนจะเริ่มต้นพยายาม?
ท่านผู้อ่านคงไม่ต้องการให้เยาวชนชายหญิงในบ้านของท่านเป็น "เด็กชายพ่อ" หรือ "เด็กหญิงแม่" คนต่อไปใช่ไหม
ขอขอบพระคุณสาระดีดีจาก ผศ.ดร.จันทร์วิภา ดิลกสัมพันธ์ (รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา)
Credit: หนังสือคู่สร้างคู่สม ปีที่ 32 ฉบับที่ 717 วันที่ 20-31 กรกฎาคม 2554 หน้า 42-44